ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย ?

ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย ?

แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย
เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด

1. บริษัทจ่ายค่าจ้างน้อยไปหรือไม่

ลองสำรวจดูว่าค่าจ้างที่เราจ่ายให้กับลูกจ้างนั้นเหมาะสมกับเนื้องานหรือไม่ บางทีที่พวกเขาอาจจะออกกันเพราะความรู้สึกว่า ค่าตอบเเทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับปริมาณเนื้องานที่ต้องรับผิดชอบ


2. นโยบายของบริษัท สร้างความอึดอัดให้พนักงานหรือเปล่า

หลายๆครั้งนโยบาย กฏระเบียบข้อบังคับต่างๆของบริษัท อาจจะสร้างความอึดอัดให้พนักงาน ทำให้บรรยกาศในการทำงานไม่มีความสุข และทำให้พนักงานไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง


3. สิทธิสวัสดิการของบริษัทเราดีเท่าคู่แข่งอื่นๆในตลาดเเล้วหรือยัง

หากค่าจ้างน้อย งั้นสวัสดิการล่ะ? สวัสดิการพื้นฐานของบริษัทเราดีเท่าคู่เเข่งไหม หรือเราให้สวัสดิการพื้นฐานครบถ้วนหรือเปล่า บางทีบริษัทที่ลูกน้องย้ายไปทำงานอาจจะจ่ายค่าจ้างให้น้อยกว่า เเต่มีสวัสดิการที่โดนใจกว่าก็ได้นะ


4. โอกาสเติบโตของพนักงานมีมากน้อยเพียงใด

มีการวาง Career Path ในตำแหน่งงานให้พนักงานหรือเปล่า นอกจากเรื่องขึ้นเงินเดือนก็คือการเติบโตในหน้าที่การงาน หากทำงานไปโดยมองไม่เห็นถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ย่อมต้องอยากย้ายออกเป็นธรรมดา เพื่อมองหาที่ที่จะสามารถเติบโตได้มากกว่า


5. สภาพแวดล้อมที่ทำงาน เหมาะสมกับพนักงานหรือเปล่า

งานบางอย่างก็จำเป็นต้องอาศัยบรรยกาศที่ผ่อนคลายเพื่อการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่าย ดังนั้นควรสร้างบรรยกาศที่เหมาะสมกับการทำงานให้กับพนักงานด้วย


6. หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนอย่างไรกับลูกน้อง 

1 ในสาเหตุของปัญหาการลาออกส่วนมากเกิดจากการที่หัวหน้าใช้อารมณ์เป็นใหญ่ ไม่ฟังเหตุผล หรือถนัดเเต่ใช้อำนาจโดยไม่สนใจใคร ทำให้ลูกน้อง หรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาเกิดความไม่สบายใจ ดังนั้นบางครั้ง HR ก็ต้องมองย้อนกลับไปที่ผู้บังคับบัญชา บางทีสาเหตุที่เสียคนเก่งๆไป ทั้งๆที่จ่ายค่าตอบเเทนอย่างงาม และสวัสดิการที่ดีเยี่ยม บรรยกาศในการทำงานก็เอื้ออำนวยสุดๆ เเถมยังปรับตำแหน่งขึ้นเงินเดือนให้ทุกปี เเต่คนก็ยังพากันออก บางทีอาจจะมาจากปัญหาที่มาจากเพื่อนร่วมงานที่สร้างปัญหาหรือเปล่า? อาทิ หัวหน้างานเป็นต้น...

การเเก้ไขปัญหาโดยการพูดคุย (อย่างไม่เป็นทางการ) ถามหาสาเหตุการลาออกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาและมองเห็นถึงสาเหตุของการลาออกที่เเท้จริงได้ ดังนั้นหากมีเวลาลองหาเวลาชวนพนักงานไปพูดคุยปรับทุกข์ ถามไถ่ถึงงานและความรู้สึกที่มีต่องานที่กำลังทำอยู่ก็เป็นอีกทางที่ช่วยให้เข้าถึงปัญหาได้

ที่มา : www.jobsugoi.com

 2410
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1276 ผู้เข้าชม
สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของตัวเอง แต่อย่างแรกที่ต้องทำคือการเริ่มจากทัศนคติที่ว่า “เป็นเรื่องโอเครที่จะสร้างความผิดพลาด แต่ต้องเป็นการผิดพลาดที่สามารถนำมาเรียนรู้ต่อได้”
1814 ผู้เข้าชม
เวลาเราให้คนออกจากงานไปนั้นมักเป็นการง่ายที่โทษว่า “ก็เป็นความผิดของพนักงานคนนั้นเอง” ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการการ เลิกจ้างนั้นเป็นมาตรการที่ควรใช้เมื่อพนักงาน “มีอาการ” ที่สมควร ที่จะต้องให้ออกจากงานไปจริง ๆ เช่น ไม่มีวินัยในการทำงาน ชอบสร้าง ปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับหน่วยงาน สร้างความแตกแยกในหมู่ เพื่อนร่วมงาน เฉื่อยหรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงานจนเป็นตัวถ่วง ผลการปฏิบัติงานขององค์กรที่ไม่อาจปล่อยไว้ได้ เป็นต้น
2044 ผู้เข้าชม
อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับพนักงานของท่านหรือเปล่า - อาการป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ - อาการป่วยการเมือง - อาการป่วยจริง - ลางานเป็นประจำ หรือ ขาดงานอยู่บ่อยๆ จนหัวหน้าต้องตาม จะทำอย่างไร? เมื่อพนักงานของท่านขาดงาน
16682 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์