Inside ชีวิต: พูดคุยอย่างไรให้คนชอบ

Inside ชีวิต: พูดคุยอย่างไรให้คนชอบ

ผมเคยพบคนที่มีชื่อเสียงในแวดวงต่างๆ หลายๆ คน บางคนเป็นคนมีเสน่ห์ คุยแล้วชอบ บางคนพอเริ่มคุยก็เดินหนีห่างออกมา ไม่ชวนให้อยากคุยด้วยเลข

การพูดคุยให้เป็นนี้ เป็นทักษะที่ควรหัดให้มีเอาไว้ เป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทำให้ได้มิตรภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การงานและสังคมที่ดีต่อไป

ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำที่เลือกเอาไปใช้ได้ครับ

1. สร้างความมั่นใจให้ตัวเองก่อน โดยให้เชื่อว่าตัวเราเองและทุกคนรวมทั้งคนที่เราจะพูดด้วยก็เป็นคน "เก่งมาก-ดีมาก" ตามสภาพเป็นจริงของแต่ละคน ซึ่งไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน และไม่ต้องเปรียบเทียบกัน เราจะชอบตัวเองและชอบคนอื่นๆ ด้วย ถ้ามองข้ามข้อบกพร่องของตัวเองหรือของคนอื่นได้ ก็ให้มองข้ามเสีย เขาต้องรับผลกรรม ตามกฎแห่งกรรม

2. สร้างภาษากายที่บวก (+) ซึ่งคนจะชอบ เป็นลักษณะบุคลิกภาพแบบเปิดตัว เปิดเผยเช่น ยิ้มแย้ม พร้อมพยักหน้า สบตา พร้อมจะกล่าวคำพูดบางอย่างที่แสดงถึงความสนใจและเป็นมิตร เช่น ดีจัง โอ้โห ใช่แล้ว ไม่ยืนกอดอก เอามือล้วงกระเป๋า ขัดคอ หรือส่ายหน้า ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกภาพแบบ "ปิดตัว"

3. ถ้าอยากแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมือนใคร ก็ให้รอจังหวะให้เขาพูดให้จบก่อน แล้ว กล่าวว่า ที่อีกฝ่ายพูดก็น่าสนใจดี แต่อยากเสนอแนวคิดอีกทางหนึ่ง โดยใช้ภาษา พูดธรรมดาและมีสีหน้ายิ้มๆ ไม่ต้องแสดงสีหน้า คำพูด ที่เอาจริงเอาจัง หรืออยากเอาชนะ จะกลายเป็นการสร้างศัตรู

4. การเริ่มต้นคุยกับคนใหม่ ๆ หรือคนแปลกหน้า ให้คุยเรื่องเบาๆ ที่ทุกคนสามารถร่วมคุยได้ ให้เริ่มจากสิ่งที่มองเห็นในขณะนั้น เช่น ดิน ฟ้า อากาศ การตกแต่งสถานที่ เรื่อง อาหาร การท่องเที่ยว สุขภาพ กีฬา เป็นการเปิดฉากการสนทนา เพื่อจะได้รู้ว่าเขาชอบคุยเกี่ยวกับอะไร แล้วจึงสานต่อ ถ้าเขาไม่อยากคุยด้วยเพราะเหตุใดก็ตาม จงถอยห่างออกมา และอย่าถือสาเขาเลย เขาอาจมีปัญหาส่วนตัวของเขาก็ได้

5. ให้ความสำคัญคู่สนทนา จงหาโอกาสชมเชยเขาบ้าง ถ้าไม่รู้จักตัวตนเขาลึกซึ้ง ก็ให้ชมสิ่งของใช้ของเขาที่แลดุดีก็ได้ เช่น เขาซื้อของชิ้นนี้จากที่ไหน แลดูดีมาก แต่อย่าให้เกินความจริงจนรู้สึกเป็นการป้อยอ ถ้านั่งโต๊ะรับประทานอาหารด้วยกัน ควรแสดงความเอื้อเฟื้อโดยหยิบขวดเกลือ พริกไทย น้ำตาล นม ส่งให้คนข้างเคียงตามความเหมาะสมด้วย

6. อย่าพูดเรื่องปมด้อยของเขาเด็ดขาด แม้จะมองเห็นและเป็นความจริง ก็ห้ามพูด เช่น ความอ้วน ดำ เตี้ย ฯลฯ และอย่านำปมด้อยของตัวเองมาเล่าด้วย เพราะเขาจะไม่ชอบเราทั้งกรณี แม้ปากจะบอกว่าไม่ถือๆ ก็ตาม

7. อย่าถามเรื่องส่วนตัวที่ลึกซึ้ง เช่น สถานภาพสมรส รายได้

8. กระจายความสนใจและการพูดคุยไปสู่คนอื่นบ้าง ไม่ใช้ตั้งหลักคุยกับใครสักคนที่ชอบเป็นคนสำคัญ ทำให้ขาดโอกาสรู้จักคนอื่น ๆ ถ้ามีคนที่รู้จักกันเข้ามาร่วมวงสนทนา อย่าลืมแนะนำให้เขารู้จักกับคนที่เราคุยอยู่แล้วด้วย

9. ให้โอกาสคู่สนทนาพูดคุยถึงตัวเขาเองด้วย ไม่พูดคุยถึงตัวเรามาก ถ้าเบื่อคู่สนทนาที่ชอบพูดถึงตัวเอง หรือครอบครัวของเขานานไป ก็เปลี่ยนเรื่องคุย หรือเลี่ยงไปที่อื่น

10. อย่าชมเชยตัวเอง อย่าวิจารณ์ตัวเอง อย่าผูกขาดการพูดอยู่คนเดียว

11. ควรมีอารมณ์ขันระหว่างคุย แต่อย่าให้ลามก หรือโหดร้าย ไม่นินทาคนอื่น

12. เป็นผู้ฟังที่ดี อย่าสร้างศัตรู

13. สร้างความรูสึกดีๆ ตอนจากกัน ด้วยคำขอบคุณที่ได้ความรู้บางอย่างจากเขา หรือ พูดว่าคงมีโอกาสดีๆ ได้พูดคุยกับเขาอีก

ปากมีไว้พูดคุย เพื่อสร้างมิตร สร้างความสุข

และสมองมีไว้คิด เพื่อสร้างสรรค์

จงใช้ปาก และสมองให้ดีเวลาพูดคุยกับคนอื่น เพื่อสร้างมิตร และสร้างสรรค์ครับ

 2002
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การเข้าออกของพนักงานในองค์กรถือเป็นเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในการทำงาน เมื่อมีพนักงานลาออก ก็ต้องมีการสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้ามาทดแทนตำแหน่งงานที่หายไป และเมื่อคัดเลือกได้พนักงานที่น่าจะดีที่สุดแล้ว ก็จะต้องมีการนัดหมายเริ่มต้นการทำงาน พนักงานใหม่กลุ่มนี้ องค์กรมีการดูแลอย่างไรนั้น มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพนักงานที่ทำงานมานานๆ ในองค์กรเลย
2796 ผู้เข้าชม
มีการเผยแพร่บทความที่น่าสนใจเรื่อง 6 People Strategies for Startups โดย Shefali Anand อดีตผู้สื่อข่าวของ Wall Street Journal ในประเทศอินเดีย เขามีโอกาสติดตามข่าวสารด้านการลงทุนต่างๆ ของนักลงทุนหน้าใหม่ตลอดเวลา จึงมีข้อมูลนำมาประมวล จนสรุปคำแนะนำที่น่าจะสร้างแนวคิดหรือประโยชน์แก่คนที่อยากเป็นเถ้าแก่รุ่นใหม่มือใหม่ของบ้านเรา
2055 ผู้เข้าชม
คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง
3558 ผู้เข้าชม
การบริหารทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันนี้ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งก็คือ ทรัพยากรบุคคลขององค์กรนั่นเอง อย่างไรก็ดี เรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กรต่างๆ ต่างก็ให้ความสำคัญที่ไม่ค่อยเท่ากันเท่าไหร่ บางองค์กรก็ให้ความสำคัญในเรื่องของคนเป็นอย่างมาก บางองค์กรก็ให้ความสำคัญเรื่องคนเป็นเรื่องๆ ไป และบางองค์กรก็ไม่ให้ความสำคัญอะไรเลย
1387 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์