ภาษีกับการจ้างคนพิการ

ภาษีกับการจ้างคนพิการ


กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน

ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365)

กรณีมีพนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ บริษัทต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 2 เท่า

  • กิจการใดที่ดำเนินการจ้างคนพิการ แม้ว่าจะไม่มีหน้าที่จ้าง (มีพนักงาน/ลูกจ้างไม่ถึง 100 คน)

หรือ

  • จ้างคนพิการเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด (100 จ้าง 1 )

กิจการนั้นมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการนั้นมาลงรายจ่ายทางภาษีเพิ่มได้อีก 1 เท่า รวมเป็น 2 เท่า !

แต่ คนพิการนั้นต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

เช่น บริษัทมีพนักงาน 200 คน จ้างคนพิการ 5 คน เงินเดือนคนละ 30,000 บาท ลงค่าใช้จ่าย 150,000บาท บริษัทนั้นสามารถลงค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท (150,000บาท)

ค่าใช้จ่าย หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส โอที หรือแม้แต่เงินสมทบประกันสังคม

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 3 เท่า

ถ้ากิจการมีการจ้างคนพิการเข้ามาทำงาน โดย

  • คนพิการมีจำนวนเกินกว่า 60% ของ พนักงานลูกจ้าง

และ

  • มีระยะเวลาในการจ้างเกิน 180 วัน

กิจการมีสิทธิลงรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการได้อีก 1 เท่า รวม 3 เท่า !

 

กรณีที่บริษัทไม่จ้างคนพิการ และไม่ประสงค์จะจ่ายเข้ากองทุน บริษัทสามารถดำเนินการตามรูปแบบอื่นที่ กม.กำหนด (ม.35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ดังนี้

  • ให้สัมปทาน (การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ เช่น การให้สิทธิในลิขสิทธิ์ในการจําหน่ายสินค้า )
  • จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ (การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ)
  • จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ
  • การฝึกงาน (การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อให้นําไปใช้ประกอบอาชีพ )
  • จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก (การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทํางานในสถานประกอบการ ให้สามารถทํางานได้ตาม ความเหมาะสม)
  • ล่ามภาษามือ
  • ให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ (การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือ หรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อมในการทํางาน)บริษัทต้องทำโครงการนำเสนอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกหนังสืออนุมัติให้แล้วจึงสามารถดำเนินการได้ (หากดำเนินการแล้วก็ไม่ต้องจ่ายเข้ากองทุน เพราะทำตามที่ กม.กำหนดแล้ว)

แล้ว การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม? ที่พนักงานสามารถยอมรับได้ และสามารถอ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : www.impressionconsult.com

 3812
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ด้วยปัจจัยตั้งต้นก็มักจะคล้ายกันในหลายๆ กิจการ ที่ก่อเกิดโดยคนเพียง 1 หรือ 2-3 คนในการคิดทำสินค้า หรือบริการ นั้น ๆ ออกขาย จะเรียกว่าเกิดจากไอเดีย (idea) ช่องทาง (Chanel) หรืออื่นๆ แม้จะเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความคิด ที่รวมๆ แล้วเรียกได้ว่า ความคิดจากการมองเห็น โอกาส (Opportunity)
1629 ผู้เข้าชม
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management หรือ HRM) คืออะไร มีลักษณะ และขอบเขตของการทำงานอย่างไรบ้าง
51458 ผู้เข้าชม
เรื่องของการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานนั้น มีการพูดถึงกันมาก็หลายปีแล้ว มีองค์กรในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ สร้างพนักงานให้มีความสุขในการทำงาน เพราะเชื่อว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงานนั้น จะสามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง แต่ตรรกะนี้ เป็นจริงหรือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดีขึ้นจริงๆ หรือ
3528 ผู้เข้าชม
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ?? พูดถึงเรื่อง Time ในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเข้า – ออกตามกะงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการกำหนดขอบเขตการลงเวลาเข้า – ออกที่เป็นเวลาตายตัวที่องค์กรกำหนดไว้เท่านั้น ...แต่ก็มีบางองค์กรที่นำ “ระบบการลงเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น” หรือ “Flexible Time” มาปรับใช้
20503 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์