กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน

 

กองทุนเงินทดแทน

                                                                                                                                         กองทุนเงินทดแทนเป็นกองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายทุพลภาพสูญหายหรือถึงแก่ความตาย อันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้นายจ้าง ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติเงินทดแทน

พ.ศ. 2537 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2537ใช้ประกาศแทนคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ กรกฏาคม 2537

<span "="">

นายจ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

 

       นายจ้างทุกประเภทกิจการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนเงินทดแทน และจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับตั้งแตงวันที่มีลูกจ้างครบ 1 คน ยกเว้น กิจการต่อไปนี้ไม่ต้องขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทน

     • กิจการประมง เพาะปลูก ป่าไม้ และ เลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างตลอดทั้งปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย

     • ลูกจ้างของส่วนราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

     • กิจการที่มิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางเศรษฐกิจ

     • รัฐวิสาหกิจ

     • โรงเรียนเอกชน ตามกฏหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ยกเว้นเฉพาะครูหรือครูใหญ่

   

สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ.2537

  

     เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

     • ค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกิน 35,000 บาท กรณีบาดเจ็บรุนแรงเพิ่มได้อีก 50,000 บาท รวมเป็น 85,000 บาท หากเป็นการเจ็บป่วยที่รุนแรงและเรื้อรัง (ตามกฏกระทรวงกำหนด) เบิกจ่ายเพิ่มได้อีกรวมกันแล้วไม่เกิน 200,000 บาท

     • ค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน ไม่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำรายวันในท้องที่ ที่ลูกจ้างทำงานและสูงสุดไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท กรณีหยุดพักรักษาตัวเกิน 3 วันขึ้นไป

    

     สูญเสียอวัยวะ

     • ค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน ไม่เกิน 10 ปี ตามประเภทของการสูญเสียอวัย

     • ค่าฟื้นฟู ด้านการแพทย์ และอาชีพไม่เกิน 20,000 บาท

     • ค่าผ่าตัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพไม่เกิน 20,000 บาท

     

     ทุพลภาพ

     • ค่าทดแทนรายเดือน 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 15 ปี ตายหรือสูญหาย

     • ค่าทำศพ 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน

     • ค่าทดแทนแก่ทายาท 60% ของค่าจ้างเป็นเวลา 8 ปี

 

     ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย เนื่องจากการทำงา

     • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 35,000บาท ต่อการเจ็บป่วย

หรือประสบอันตราย 1ครั้ง หากเป็นการประสบอันตรายรุนแรง และเรื้อรัง (ตามกฎกระทรวงกำหนด) สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

     • ค่าทดแทนรายเดือน กรณีไม่สามารถทำงานได้ ต้องหยุดพักรักษาตัวเกิน 3 วัน ขึ้นไปจะได้รับในอัตรา ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน ไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำรายวันในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานและสูงสุดไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท

     • ทำอย่างไรเมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน

     • นายจ้างต้องให้การรักษาพยาบาลแก่ลูกจ้างโดยทันที และ

     • แจ้งให้เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนทราบภายใน 15 วัน นับจากวันที่นายจ้างทราบการเจ็บป่วย

หรือประสบอันตราย หรือสูญหายตามแบบ กท.16

     • ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลใดก็ได้ โดยทดลองจ่ายค่ารักษา

พยาบาลไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกคืนภายใน 90 วัน หรือ

     • ใช้แบบ กท.44 ส่ง ตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล หากสถานพยาบาลนั้นอยู่ในความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน ทางสถานพยาบาลจะเรียกเก็บ ค่ารักษาพยาบาล จากกองทุนเงินทดแทนเอง

      ค่าทดแทนรายเดือน กรณีไม่สามารถทำงานได้ ต้องหยุดพักรักษาตัวเกิน 3 วัน ขึ้นไปจะได้รับในอัตรา ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน ไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานและสูงสุดไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท

                                                                                                                                    การแจ้งการประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน

     เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน และได้จัดการให้ลูกจ้าง เข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว

     • นายจ้างจะต้องแจ้งการประสบอันตรายภายใน 15 วัน และ

     • ลูกจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายภายใน 180 วัน ตามแบบ กท.16 ที่สำนักงานประกันสังคม

สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่ลูกจ้างประจำทำงานอยู่    

                                                                                                                                    การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน   

     หลังจากแจ้งการประสบอันตรายตามแบบ กท.16 แล้ว จะได้รับหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัย ให้นำหนังสือแจ้งผล พร้อมใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ไปรับเงินคืนจากกองทุนเงินทดแทน ได้ภายใน 90 วัน การรับเงินต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือ บัตรอื่น ที่ทางราชการออกให้ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นรับเงินแทนต้องมีหนังสือมอบฉันทะ พร้อมบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ทั้งของผู้มอบและผู้รับมอบแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

                                                                                                                                    ลูกจ้างทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย จะได้อะไรจากกองทุนเงินทดแทน       

     ทุพพลภาพ

<span "="">     ค่าทดแทนในอัตรา ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 15 ปี 


<span "="">     ตาย หรือสูญหาย

     • ค่าทำศพ 100 เท่า ของอัตราสูงสุด ของค่าจ้างขั้นต่ำ รายวันตามกฎหมาย

     • ค่าทดแทนอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปีโดยจ่ายให้แก่ผู้มีสิ สูญหาย

       

     หมายความว่า การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างการทำงาน หรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่า ลูกจ้างถึงแก่ความตาย เพราะประสบเหตุอันตราย ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน หรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างนั้น รวมตลอดถึงการที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างเดินทาง โดยพาหนะทางบก ทางอากาศ หรือทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้าง ซึ่งมีเหตุผลอันควรเชื่อว่า พาหนะนั้นได้ประสบอันตราย และลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทั้งนี้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับแต่วันเกิดเหตุนั้น

                                                                                                                                    ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน

     • ศูนย์ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือ   ระหว่าง รัฐบาลญี่ปุ่นกับรัฐบาลไทย ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อให้ลูกจ้าง และผู้ประกันตนเหล่านั้นสามารถกลับเข้าทำงาน ในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ เลี้ยงดูตนเองได้

                                                                                                                        การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

     ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ 2 ประเภท คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ และการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

     • การ ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ เริ่มหลังจากลูกจ้างที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และผู้ประกันตนได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล และยังมีความจำเป็นที่จะต้องรับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ เพื่อให้สามารถใช้อวัยวะส่วนที่เหลือทำงานได้ต่อไป

    • การ ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การพื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และผู้ประกันตนศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานให้บริการฟื้นฟู 2 ลักษณะ คือ เตรียมเข้าทำงาน และการฝึกอาชีพ

 

                                                                                                                                    คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการฟื้นฟูฯ

     • เป็นลูกจ้างที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจาการทำงาน และผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

     • สามารถช่วยตนเองได้ในกิจวัตรประจำวัน และสภาพความพิการที่เกิดขึ้นสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทำงานได้ดีขึ้น

     • ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ โรคเรื้อรัง โรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคติดต่ออันตรายพิการทางสมอง จิดฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

     • อายุ 15 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดความรู้



ที่มา : www.sso.go.th
แหล่ง ที่มา : http://www.one-stophr.com/knowledgeHR/show_new.php?id=124

 5548
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

บทความที่เกี่ยวข้อง

Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์