เรื่องของทาเคดะซัง

เรื่องของทาเคดะซัง

     สัปดาห์ที่แล้ว ผมมีประชุมระหว่างทานอาหารเช้ากับทาเคดะซัง นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่เคยอยู่เมืองไทยถึงเจ็ดปี เขาเคยเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารในธุรกิจร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสำนักงานใหญ่ก็ขอตัวกลับไปที่โตเกียวได้สองปีแล้ว ... ทาเคดะซังต้องการแปลหนังสือ Bridging the Gap จากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้อ่าน เขามีความสนใจมากขนาดจะลงทุนจัดพิมพ์เอง ผมบอกเขาว่ายินดีมาก แต่ขอหารือกับเอเชียบุ๊คส์ก่อน หลังจากที่เราติดต่อกันทางอีเมลหลายครั้ง ครั้งนี้เมื่อเขามาเมืองไทย เราจึงนัดเจอกันเพื่อเตรียมจะไปคุยกับเอเชียบุ๊คส์ผมเริ่มชวนคุยโดยสนทนา วิสาสะเกี่ยวกับการเดินทางของเขา เราคุยไปดื่มกาแฟไปสักครู่ก่อนจะเริ่มอาหารเช้า

         
     ผมถามเขาว่า "ทาเคดะซัง คุณเคยไปศึกษาต่อที่อเมริกาถึงสองครั้ง ครั้งแรกเป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนทุนเอเอฟเอส โดยไปเรียนมัธยมและอยู่กับครอบครัวอเมริกันที่มิสซูรี่หนึ่งปี หลังจากนั้นก็ได้ทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนอีกหนึ่งปี ที่วิทยาลัยโอเบอร์ลิน โอไฮโอ คุณต้องเก่งมากเลยนะครับ ถึงทุนได้ถึงสองครั้งเชียว" ทาเคดะตอบด้วยสีหน้านอบน้อมว่า "อ๋อ...ไม่หรอกครับ ผมคงโชคดี หรือไม่งั้นก็คงเรียนพอใช้ได้ในตอนเด็กๆ น่ะครับ" ผมยิ้มพร้อมกับพูดว่า "ทาเคดะซัง เป็นคำตอบที่ถ่อมตัวมากเลยครับ ผมคิดว่าคงได้คำตอบลักษณะคล้ายๆ กันแบบนี้ หากถามจากคนไทยเช่นกัน แต่ว่าถ้าไปถามเพื่อนชาวตะวันตกละก็ คงได้อีกแบบ พวกเขาคงบอกว่า ขอบคุณครับ หรือ ผมทราบดี หรือ ผมเรียนหนักผมถึงเก่งครับ

         
     เวลาผมสอนการนำเสนอแบบมืออาชีพ ผมจะแนะนำให้ผู้นำเสนอแนะนำตัวเองและคุณสมบัติเด่นสั้นๆ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังรู้จักและเกิดความเชื่อถือในคุณสมบัติของผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากสำหรับคนไทย เพราะมันฝืนกับธรรมเนียมของความนอบน้อมถ่อมตัวของเรา ผมแนะนำเขาไปว่า หากเราถ่อมตัวมากเกินไปในการแนะนำตัวเอง พวกผู้ฟังโดยเฉพาะชาวต่างชาติอาจจะมองเราว่า เราขาดความมั่นใจในตนเอง ซึ่งเขาจะตีความไปว่าเราอาจจะไม่รู้จริงในสิ่งที่กำลังจะนำเสนอ ผมหวังว่าคุณคงไม่ถือนะครับที่ผมเล่าเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์กัน" อีกครั้งหนึ่งที่เขายิ้มด้วยความสุภาพพร้อมกับพูดว่า "ไม่หรอกครับ ผมเข้าใจดี" ผมจึงชวนสนทนาต่อ คราวนี้ผมสำรวมและระมัดระวังมากขึ้น "ทาเคดะซัง กรุณาอย่าเข้าใจผิดกับคำถามนี้นะครับ ผมอยากรู้จริงๆ คุณบอกว่าคุณต้องการจะแปลและพิมพ์ด้วยตนเองเลยในตอนแรก โดยบอกว่าจะใช้เวลาส่วนตัวเพราะปัจจุบันเป็นผู้บริหารอยู่ อีกทั้งเงินไม่ใช่แรงจูงใจจากโครงการนี้ พอจะบอกหน่อยได้ไหมครับว่าอะไรทำให้คุณมุ่งมั่นกับการแปลและพิมพ์ครั้งนี้ มากทีเดียว"

         
     เขาตอบว่า "ตอนผมอยู่เมืองไทย ผมก็ติดตามงานเขียนของคุณบ้าง พอกลับไปญี่ปุ่นเมื่อสองปีที่แล้ว ผมคิดถึงเมืองไทย ทุกวันผมจะติดตามข่าวสารโดยการอ่านหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นทาง อินเทอร์เน็ต ทุกวันจันทร์ผมติดตามอ่านเรื่องของคุณ เมื่อเดือนที่แล้ว ผมมาประเทศไทยก็ซื้อหนังสือของคุณจากเอเชียบุ๊คส์ ผมอ่านรวดเดียวจบบนเครื่องบินเลย

         
     หนังสือเล่มนี้จุดประกายผมมาก เพราะผมคิดว่าหากผมมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ก่อนมาเริ่มงานในประเทศไทย ผมคงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ พนักงานชาวไทยได้รวดเร็วกว่าการที่ผมใช้วิธีเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตนเอง ผมเชื่อว่าผมคงลดความสูญเสียได้มากโขเลยหากมีหนังสือนี้ในตอนนั้น อย่างไรก็ตามผมก็กังวลใจแทนเพื่อนๆ ชาวญี่ปุ่นว่าเนื่องจากหนังสือนี้เป็นภาษาอังกฤษ พวกเขาคงไม่ชำนาญ ดังนั้นถ้ามีฉบับภาษาญี่ปุ่น ผมว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเขาอย่างยิ่ง"

         
     เขาพูดต่อ "จากข้อมูลใน http://edu.sina.com.cn/en/2004-09-27/26043.html ที่เซยงไฮ้ พนักงานที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติมีอัตราการลาออกสูงถึง 48 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุใหญ่คือคนท้องถิ่นไม่พึงพอใจกับนายชาวต่างชาติที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรม และวิธีคิดของคนจีน จากประสบการณ์ของผม ผมว่ามันค่อนข้างจะคล้ายกันกับในประเทศไทย"

         
     ผมชวนคุยต่อ "คุณยังติดต่อกับเพื่อนร่วมงานชาวไทยอย่างสม่ำเสมอ คราวนี้คุณก็มางานแต่งงานของเลขาเก่าของคุณโดยจะมากล่าวอวยพรคู่บ่าวสาวด้วย คุณมีวิธีผูกใจชาวไทยอย่างไรหรือครับ" เขากล่าวตอบ "ผมไม่ได้ทำอะไรมากหรอกครับ พวกเขาเป็นคนดี" แล้วเขาก็หัวเราะออกมาพร้อมกับพูดแบบติดตลกว่า "ขอโทษคุณเกรียงศักดิ์ ผมอดไม่ได้ที่จะถ่อมตัวอีกแล้ว ในตอนนั้นผมพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนไทยอย่างมาก ผมเรียนภาษาไทย ผมสอนงานพวกเขามาก ผมเป็นคนใจเย็นและยิ้มง่าย มันหนักและต้องใช้ความอดทนในช่วงแรกๆ แต่พอคนไทยเขาเริ่มเชื่อใจและเรียนรู้งานได้ดีแล้ว ผมว่าทุกอย่างก็เข้าที่เข้าทาง คนไทยทำงานเก่ง สมัยผมอยู่เรามีวิศวกรที่เก่งๆ หลายคน พวกเขาคุณภาพไม่เป็นสองรองใครในโลกเลยครับ หลายคนเรียกผมว่าครูจากการที่ผมช่วยสอนงานเขา ผมภูมิใจมากที่พวกเขายกย่องและให้เกียรติผมมากขนาดนั้น

         
     นอกจากนี้ ผมยังร่วมทานข้าวกับพวกเขาบ่อยๆ เป็นกลุ่มย่อย และอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งที่ต้องมีปาร์ตี้กับพนักงานกลุ่มใหญ่ พวกเขาเข้ามาพูดคุยกับผม ให้ข้อมูล เสนอแนะแนวทางการทำงาน ปรึกษาปัญหา สิ่งที่ผมได้จากการพูดคุยแบบนอกรอบอย่างนี้ ผมหาไม่ได้จากการพูดคุยในระหว่างเวลาทำการ"


ที่มา : http://jobmsn.jobjob.co.th

 

 924
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์