• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • สรุป ‘ภาษีที่ดินใหม่’ กับข้อควรรู้ทั้งหลายที่ต้องเตรียมรับมือ

สรุป ‘ภาษีที่ดินใหม่’ กับข้อควรรู้ทั้งหลายที่ต้องเตรียมรับมือ

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • สรุป ‘ภาษีที่ดินใหม่’ กับข้อควรรู้ทั้งหลายที่ต้องเตรียมรับมือ

สรุป ‘ภาษีที่ดินใหม่’ กับข้อควรรู้ทั้งหลายที่ต้องเตรียมรับมือ

อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปี 2563 เป็นปีที่เริ่มต้นการเก็บภาษีที่ดินใหม่ หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยในครั้งแรกประกาศให้เริ่มจัดเก็บไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 แทน

เนื่องจากกฎหมายลำดับรอง (กฎหมายลูก) ใน พ.ร.บ. นี้ที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังรับผิดชอบยังไม่เรียบร้อย ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเสียภาษีออกไป แต่ถึงแม้จะเลื่อนกำหนดการออกไปแล้ว ผู้ครอบครองที่ดินก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องเตรียมตัวเพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่า เป็นผู้เข้าข่ายในการเสียภาษีที่ดินใหม่นี้หรือไม่ 

และถ้าหากเข้าข่ายจะต้องเตรียมรับมือหรือจ่ายภาษีอย่างไร รวมถึงมีโอกาสได้รับการลดหย่อนจากอะไรบ้าง ทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ได้ในบทความฉบับนี้เลย

ภาษีที่ดินใหม่คืออะไร

เพื่อให้คุณได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้น อันดับแรกจะต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีที่ดินใหม่ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา ด้วยองค์ความรู้พื้นฐาน ดังต่อไปนี้

1. นิยามของภาษีที่ดินใหม่

ภาษีที่ดิน หรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่ดินใหม่ที่มาแทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งจะถูกยกเลิกไป โดยผู้ที่เคยเสียภาษีดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2563 จะไม่ต้องเสียภาษีเหล่านี้ซ้ำอีก แต่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน 

ซึ่งภาษีที่ดินใหม่นี้จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี โดยแบ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • เกษตรกรรม

  • ที่อยู่อาศัย

  • อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย

  • ที่รกร้างว่างเปล่า

2. องค์ประกอบภาษีที่ดินใหม่

สำหรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีที่ดินใหม่ตามพ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน คือ

  • ฐานภาษี :เป็นจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์
     
  • ผู้เสียภาษี :เจ้าของที่ดิน เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของห้องชุด หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ทำประโยชน์ในส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐ ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีต้องเสียภาษีทุกปี และต้องชำระภายในเดือนเมษายนของปีนั้นๆ เหมือนกับการชำระภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งถูกยกเลิกไป (ยกเว้นปี 2563 สามารถชำระภาษีได้ถึงเดือนสิงหาคม)

  • ผู้จัดเก็บภาษี : หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษี ได้แก่ สำนักงานเขตเทศบาล, สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล, สำนักงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา

3. ประเมินการเสียภาษีอย่างไร 

การประเมินการเสียภาษีจะคำนวณเป็นขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีและจะปรับตามรอบบัญชีประเมินราคาทุก 4 ปี (เป็นการประเมินจากกรมธนารักษ์) โดยคุณสามารถคำนวณหาจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายได้จาก 3 สูตรนี้

สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

คำนวณจากสูตร ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี 

โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน 

สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

คำนวณจากสูตร ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี 

โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง)

สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับห้องชุด

คำนวณจากสูตร ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี 

โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)

วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีที่ดินใหม่

ภาษีที่ดินใหม่มีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านการใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้

  • แก้ปัญหาเรื่องภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน
     
  • ลดความเหลื่อมล้ำของความรวยและความจน

  • แก้ปัญหาที่ดินรกร้าง ให้ทำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

  • เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานของรัฐว่ามีการเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมในท้องถิ่น

ใครจำเป็นต้องจ่ายภาษีที่ดินใหม่

บุคคลที่ต้องเสียภาษีที่ดินใหม่ จะต้องเป็นเจ้าของในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคำว่าเจ้าของในที่นี้คือการเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของในโฉนดในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือถ้ามีเจ้าของร่วมกันหลายคน แค่คนใดคนหนึ่งชำระภาษีครบถ้วนก็ถือว่าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรูปแบบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องเสียภาษีที่ดินใหม่นี้จะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม 

เงื่อนไขผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินทำเกษตรมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ซึ่งใช้ในการทำการเกษตรกรรมต่างๆ เช่น ทำนา ทำไร่ หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยจะมีมูลค่าทรัพย์สินเริ่มต้นที่ 0 – 75 ล้านบาท คิดอัตราภาษีเป็น 0.01% ไปจนถึงมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะคิดอัตราภาษี 0.1 % (ภาษี ล้านละ 100 บาท) 

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย 

เงื่อนไขผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่อยู่อาศัยหลังแรกมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท, เป็นเจ้าของบ้านแต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท และผู้มีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 โดยมูลค่าที่เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท และคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.02% (ภาษี ล้านละ 200 บาท) 

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1. และ 2.

เงื่อนไขผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ในครอบครองและใช้เพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร เช่น การปล่อยเช่า ฯลฯ จะต้องเริ่มเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท และคิดอัตราภาษีที่ 0.3% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท) 

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามความแก่สภาพ

เงื่อนไขผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ปล่อยร้างไว้ ไม่ได้นำมาทำประโยชน์อะไร โดยจะมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.3% ไปจนถึงมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นได้ จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.7% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท) 

นอกจากนี้ถ้าปล่อยพื้นที่ให้ทิ้งร้างไว้ต่อไปนาน 3 ปีติดต่อกัน อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3% ทุกครั้ง แต่อัตราภาษีเมื่อคิดรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 3 %

วิธีการลดหย่อนภาษีที่ดินใหม่

หลายคนเห็นเปอร์เซ็นของอัตราภาษีที่ดินใหม่แล้ว อาจทำให้รู้สึกกังวลว่า จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ยิ่งถ้าเป็นนักลงทุนสายซื้ออสังหาฯ หรือที่ดินที่ซื้อหลักทรัพย์เหล่านี้เก็บไว้เป็นจำนวนมากด้วยแล้ว อาจจะต้องศึกษาและหาวิธีการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมไว้ ซึ่งบทความนี้ได้หยิบยก 4 เทคนิคที่ช่วยทำให้ลดหย่อนภาษีที่ดินใหม่ได้ ดังต่อไปนี้

ทำที่ดินว่างเปล่าที่มีให้กลายเป็นที่ดินเกษตรกรรม

การมีที่ดินเปล่าที่ซื้อเก็บไว้โดยไม่ได้นำมาทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีที่ดินใหม่ในจำนวนที่มากกว่าที่ดินที่นำมาทำเกษตรกรรม ดังนั้นการปล่อยที่ดินให้รกร้างจึงจะเป็นการเสียประโยชน์ในด้านการสร้างรายได้และการได้รับการลดหย่อนภาษี 

ดังนั้น จึงควรพลิกผืนดินว่างเปล่านั้นด้วยการเริ่มต้นทำเป็นที่ดินการเกษตรกรรมแทนการปล่อยไว้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าที่ดินผืนนั้นเหมาะที่จะนำมาทำการเกษตรหรือไม่ ถ้าเป็นที่ดินอยู่ในเขตเมืองหรือเขตชุมชนอาจจะต้องหาวิธีการใช้ที่ดินเปล่าด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้ได้มากยิ่งขึ้นและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ด้วย

แบ่งแปลงให้เล็กลง

เพราะภาษีที่ดินใหม่จะคิดภาษีเป็นแบบขั้นบันได ทำให้ยิ่งมีพื้นที่ดินเยอะก็ยิ่งเสียภาษีมาก ดังนั้นการแปลงที่ดินออกเป็นแปลงเล็กๆ ก็จะช่วยทำให้ราคาประเมินที่ดินถูกลง ส่งผลให้เสียภาษีน้อยลงด้วย

โอนบ้านหลังอื่นๆ ให้เป็นชื่อของลูกหลาน

วิธีนี้จะช่วยลดหย่อนภาษีได้เนื่องจากการโอนบ้านเป็นชื่อลูกหลานจะเป็นฐานภาษีในส่วนที่จะได้รับการยกเว้น เนื่องจากลูกหลานจะได้รับสิทธิบ้านหลังแรก ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทไปโดยปริยาย

การสร้างบ้าน 

หากมีที่ดินแปลงใหญ่จะทำให้ต้องเสียภาษีในฐานภาษีที่สูง ดังนั้นการสร้างบ้านไว้บนที่ดินเพิ่มเติมก็จะทำให้เสียภาษีที่ดินใหม่น้อยลง เนื่องจากที่ดินนั้นกลายเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยในทันที

สรุป 

หลักการวางแผนภาษีที่ดินใหม่ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ถ้าหากรู้และเข้าใจวิธีการเสียภาษีที่ถูกต้อง รวมไปถึงขั้นตอนการลดหย่อนภาษีในรูปแบบต่างๆ ก็จะช่วยทำให้ผู้มีที่ดินในครอบครองเตรียมตัวนำที่ดินในครอบครองมาสร้างประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

แต่การลงทุนพลิกพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่ทำเงินได้นั้นต้องอาศัยการลงทุนและการขอสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ ดังนั้น นอกจากการศึกษาข้อกำหนดและวิธีการลดหย่อนภาษีแล้วก็อย่าลืมเตรียมตัวศึกษาหนทางการลงทุนบนที่ดินทำกินทั้งด้านการลงทุนและการจัดการเอาไว้ด้วยเช่นเดียวกัน

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้


ที่มา : blog.ghbank.co.th

 1930
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

กองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน
4189 ผู้เข้าชม
HR (Human Resource) ตำแหน่งที่ต้องเจอทุกคน ต้องแก้ทุกปัญหา เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความรู้รอบด้าน เอาทั้งศาสตร์และศิลป์มาปรับใช้กับทุกสถานการณ์ที่ต้องเจอ ทำให้องค์กรหลาย ๆ แห่งมักจะมีตำแหน่งนี้อยู่ด้วยเสมอเพื่อจัดการความเรียบร้อยให้องค์กร
1698 ผู้เข้าชม
สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกยุคไร้พรมแดนและการปฎิวัติวิชาชีพ (Career Disruption) ในยุคนี้ก็คือระบบการทำงานยุคใหม่ที่ยืดหยุ่นและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากรทั่วโลกในการมาร่วมแจมการทำงานโดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขไปตามการจ้างงานของแต่ละคน
3306 ผู้เข้าชม
ในช่วงนี้เป็นโค้งสุดท้ายของเทศกาลลดหย่อนภาษี แน่นอนว่าหลายๆคนก็คงจะมองหาทางเลือกในการออมและการลงทุนที่ทำให้เราได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุดกันอยู่แน่ๆ ทางเลือกหนึ่งในการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจก็คือการซื้อประกันเพราะนอกเหนือที่เราจะได้รับความคุ้มค่ากับสิทธิทางภาษีแล้ว เรายังได้รับความคุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเข้ามาอย่างไม่คาดฝันและสร้างผลกระทบทางการเงินให้กับเราและคนที่เรารักได้อีกด้วย
958 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์