3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิด ๆ ที่คุณไม่ควรทำ

3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิด ๆ ที่คุณไม่ควรทำ


เมื่อได้ยินคำว่า “ภาษี” ทีไร ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า เราทุกคนอยากจะสรรหาวิธีมาประหยัดรายจ่ายตัวนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันเป็นรายจ่ายที่จ่ายไปแล้ว ไม่ค่อยจะสบายใจ ว่าเอ๊ะ...เงินเรามันหายไปไหนกันนะ


แต่ถึงจะพยายามประหยัดภาษีให้ได้มากแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ วิธีการที่เราเลือกใช้ หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้นะครับ ถ้าเจอพี่สรรพากรตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป เราอาจจะต้องเจอชุดใหญ่เป็นแน่

บทความในวันนี้ เลยตั้งใจจะมาพูดถึงวิธีการประหยัดภาษีแบบผิด ๆ ที่ไม่ควรทำว่ามีวิธีไหน อะไรบ้าง โดยแยกออกเป็น 4 วิธีดังนี้ครับผม

 

1. ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย


วิธีนี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพียงแค่ไม่ต้องจ่ายก็จบแบบง่าย ๆ แล้วครับ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้าหากเราโดนจับได้ขึ้นมา แปลว่าเรากำลังทำผิดกฎหมายอยู่นะครับ ซึ่งมีผลทำให้เราอาจจะต้องเสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับ (ค่าปรับ) และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) สูงถึง 4 เท่าของภาษีที่เราต้องจ่ายกันเลยทีเดียวครับ

 
บางคนอาจจะบอกว่า ไม่อยากจ่ายภาษี เพราะกลัวว่าภาษีที่จ่ายไปจะไม่ถูกใช้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าตัวเราเองยังทำผิดกฎหมายไปด้วย แบบนี้ก็คงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ?

 

2. กระจายรายได้แบบผิด ๆ


นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกันครับ แต่ขอบอกเลยครับว่าวิธีนี้เป็นที่ฮอตฮิตมาก ๆ สำหรับการประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลยทีเดียว วิธีการก็ไม่มีอะไรยาก แค่ไปหาชื่อคนอื่นมารับรายได้แทนเราเพื่อทำให้เราเสียภาษีน้อยลง เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบก้าวหน้า (ยิ่งมีรายได้มากยิ่งเสียในอัตราที่สูงขึ้น) ดังนั้นเมื่อแบ่งกระจายกันไปให้ทั่ว ๆ กัน ก็ย่อมเสียภาษีน้อยลงเป็นธรรมดา แต่ปัญหายังไม่จบครับ เพราะเราอาจเจอเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ 
 
ต้องเสียเพิ่ม : คนที่เราแบ่งรายได้ให้ไปนั้นอาจจะมีรายได้อยู่แล้ว อาจจะเป็นว่าต้องเสียภาษีแพงกว่าเดิมก็ได้ แบบนี้ก็คงเป็นปัญหาชีวิตที่วุ่นวายทางหนึ่ง หรือ
 

โดนจับได้ : ถูกสรรพากรตรวจสอบได้ว่าเป็นการกระจายรายได้เพื่อเลี่ยงภาษี ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะผู้ที่มีรายได้จริง ๆ คือเรา แบบนี้ก็อาจจะทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มในส่วนที่ขาดไปพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเช่นเดียวกันครับ

  ดังนั้น ถ้าอยากจะกระจายรายได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องวางแผนให้ชัดเจนและถูกต้อง คือ ตัวผู้มีรายได้เองต้องเป็นคนที่ดำเนินกิจการ รับงานจ้าง หรือทำธุรกิจนั้น ๆ จริง ๆ เพื่อให้มีรายได้ และนั่นคือสิ่งถูกต้องที่เราควรทำครับ

 

3. สร้างหลักฐานเท็จ


หลบเลี่ยงรายได้ สร้างค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง โดยวิธีการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อประหยัดภาษีนั้นถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกันครับ เพราะการหลบเลี่ยงรายได้ หรือสร้างเอกสารค่าใช้จ่ายปลอมนั้น มีความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนตรวจสอบภาษี และถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าผิดจริง แบบนี้รับรองครับว่า พี่สรรพากรตามติดไม่มีปล่อยไปอีกนานแน่ ๆ ดังนั้นทางที่ดีอย่างคิดลองดีกว่าครับ


สุดท้ายแล้ว...การวางแผนและใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อประหยัดภาษีนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลยนะครับ ถ้าหากเราได้พิจารณาถึงหลักความเป็นจริงของกฎหมาย ประกอบกับเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ถ้าเราเลือกใช้วิธีแบบผิด ๆ เพื่อประหยัดภาษีในวันนี้ สิ่งที่เราทำอาจจะกลับมาเล่นงานเราให้เสียภาษีมากขึ้นในอนาคตก็ได้ เมื่อถึงวันนั้นขึ้นมาจริง ๆ เราคงต้องมาเสียใจที่ไม่ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก และมันคงกลับไปแก้อะไรไม่ทันแล้ว จริงไหมครับ

สามารถอ่านทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : www.krungsri.com

 1094
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

HR เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความสำคัญมากกับนายจ้าง พอ ๆ กับหน่วยงานผลิต หน่วยงาน ขาย หน่วยงาน HR เป็นเสมือนมือขวาที่จะช่วยผลักดันให้ “นายจ้าง” อยู่ในดวงใจของพนักงาน การเป็น HR มืออาชีพต้องสามารถบริหารความคาดหวังของนายจ้างได้ ความปรารถนาของนายจ้างก็คือ การมี พนักงานที่ตั้งใจ เต็มใจ พร้อมที่จะทุ่มเทการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้น โดยมี ความเชื่อว่าเมื่อพนักงานมีความสามารถหรือ Competency ในการทำงานที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้ผลลัพธ์ หรือ KPIs ที่องค์กรต้องการบรรลุผลสำเร็จตามมาด้วย ดังนั้น HR จึงต้องปรับตนเองให้มีความพร้อม ที่จะช่วยให้นายจ้างเป็นบุคคลที่พนักงานทั้งองค์กรรัก เคารพ และปรารถนาที่จะทำงานด้วย
2544 ผู้เข้าชม
ก็ยังได้รับคำถามในแนวนี้อยู่ ก็คือ หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ การที่จะส่งพนักงานไปอบรม หรือการที่เราจะวางแผนพัฒนาพนักงานในเรื่องใดนั้น ตกลงเป็นหน้าที่ใคร
3359 ผู้เข้าชม
กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365) กรณีมีพนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ บริษัทต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน
3328 ผู้เข้าชม
ทุกๆ ปีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมเวียนมาถึง คาดว่าท่านผู้อ่านและคนไทยทั้งประเทศคงจะมีพฤติกรรมเหมือนกับผู้เขียนคือ พอตกเย็นก็รีบกลับบ้านเพื่อมาเปิดโทรทัศน์ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ซึ่งพระองค์จะมีพระราชดำรัสกับ คณะบุคคลต่างๆ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี คณะองคมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนประชาชนธรรมดาทั่วไป สำหรับผู้เขียนแล้ว คืนวันที่ 4 ธันวาคมจะเป็นค่ำคืนของการเรียนรู้แนวความคิดต่างๆ จากพระราชดำรัส ซึ่งแนวความคิดเหล่านั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน การแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเรื่องต่างๆ เช่น การเกษตร ฝนแล้ง ปัญหาน้ำท่วม บางครั้งก็เป็นเรื่องของ พระองค์เองที่ได้ทรงเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์และทรงนำมาถ่ายทอดให้เราได้ฟังและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของเรา
22424 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์