ไม่เคยยื่นเสียภาษี ทำให้กู้บ้านยากจริงหรือ?

ไม่เคยยื่นเสียภาษี ทำให้กู้บ้านยากจริงหรือ?


ยื่นเสียภาษี จำเป็นต่อการขอสินเชื่อกู้บ้านจริงหรือ..?  แล้วถ้าคนที่ยังไม่ได้เริ่มเสียภาษี ไม่มีสิทธิกู้ซื้อบ้านเลย จริงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน


ไม่เคย ยื่นเสียภาษี  กู้บ้านไม่ได้จริงหรือ..?

ใบหลักฐานการเสียภาษีหรือภงด.91 / ทวิ 50 ของปีที่ผ่านมา จำเป็นจริงไม่ ทำไมหลายๆธนาคารต้องให้เรายื่นเอกสารนี้เพื่อขอกู้ซื้อบ้าน นั้นก็เพราะว่า ตามหลักกฎหมายใหม่ หลายๆสถาบันการเงินจะใช้หลักฐานทางภาษีเป็นตัวพิจารณาเครดิตผู้กู้เท่านั้น ทำให้บางคนที่รายรับเกือบ 50,000-80,000 บาท แต่ยังกู้ไม่ผ่านนั้นก็เพราะว่า ธนาคารจะดูแต่ รายได้ตอนเสียภาษี หากรายได้ตอนเสียภาษีน้อย ธนาคารจะต้องใช้รายได้ตามที่เสียภาษีเท่านั้น ที่เอามาคำนวนเครดิต ไม่สามารถเอารายได้ที่ไม่ได้เสียภาษีมาคำนวนเครดิตให้ได้เหมือนอดีต

เพราะใบภงด.91 / ทวิ 50 เป็นหลักฐานแสดงเงินได้ที่น่าเชื่อถือที่สุด ตามหลักของธนาคารหลายๆแห่ง   ต่างจากพวกสเต้จเม้น หนังสือรับรองเงินเดือน ธนาคารส่วนใหญ่มองว่ามันสร้างกันใหม่ได้นั้นเอง  ดังนั้นเวลานี้หลักฐานการยื่นภาษีเป็นหลักสำคัญที่หากจะกู้บ้านธนาคารจะขอดูเป็นอันดับแรกๆยิ่งหากใครมีทั้ง สลิปเงินเดือน ใบยื่นยันการยื่นภาษี ทางธนาคารก็พิจารณาง่ายขึ้นเพราะธนาคารสามารถตรวจสอบความมั่นคงของผู้กู้ได้ง่ายขึ้นนั้นเอง

 

แล้วหากไม่มีหลักฐานการเสียภาษีหรือภงด.91 จะทำอย่างไร

อันดับแรกไปติดด่อให้แผนกการเงินหรือแผนกบุคคลของบริษัทที่ทำงานเพื่อให้ออกเอกสารให้ แต่หากทางบริษัทไม่ได้ทำให้เราก็ต้องไปทำเรื่องเสียภาษีย้อนหลังที่กรมสรรพากรเขตพื้นที่ เพื่อขอคัด ภงด90/91 โดย ค่าธรรมเนียมประมาณ 40-50 บาท และหากไม่เคยเสียภาษีเลยอาจต้องเสียค่าปรับอีกต่างหาก หรืออ่านรายละเอียดที่ http://www.rd.go.th/region1/118.0.html

สำหรับช่องทางการยื่นแบบออนไลน์เพื่อปริ้น ภงด91 และใบเสร็จกดได้ที่ลิงก์นี้  https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php?page=register

 

สรุป

หลักฐานการเสียภาษีหรือภงด.91 นั้นสำคัญมากๆเพราะ ใบนี้เป็นหลักฐานรายได้ที่ชัวร์ สุด ๆ สถาบันการเงินให้ความเชื่อถือมากกว่าหลักฐานอื่นใดทั้งสิ้น นั้นก็เพราะหากคุณยังไม่สามารถเสียภาษีให้ตรงเวลาไม่ได้ แล้วคุณจะสามารถมีความรับผิดชอบในการชำระหนี้ได้อย่างไรหากธนาคารอนุมัติเงินกู้ให้แก่คุณแล้ว คุณควรมีการ "วางแผนภาษี" ไว้ เพื่อไม่ให้เสียเวลากับการเสียภาษี


ที่มา : th.jobsdb.com

 2651
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้
1082 ผู้เข้าชม
ในองค์กรของคุณมีพนักงานแบบนี้อยู่หรือเปล่า คนที่พร้อมเรียนรู้ ไม่อู้งาน ไม่หมกเม็ด เอาประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง มีมาตรฐานการทำงานสูง ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ฯลฯ หากมีนับเป็นความโชคดีขององค์กรคุณ และควรเก็บรักษาพนักงานเหล่านี้ไว้ให้ดี สนับสนุนพวกเขาให้ถูกทาง
1837 ผู้เข้าชม
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR "Best Practice" หรือ "วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ" เริ่มเป็นที่คุ้นเคยกันในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวผลงานที่ได้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีการหรือกระบวนการที่ทำแล้วดีที่สุดในการได้ผลงานที่ดี เด่นสำเร็จออกมาแล้วนำเอาวิธีการหรือกระบวนการนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้แต่ละที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตัวเองชาว HR ที่ไม่ต้องการตกยุคก็ต้องค้นคว้าหา "HR Best Practice" มาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
6237 ผู้เข้าชม
กระบวนการสมัครงานของคุณได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการส่งประวัติส่วนตัวไปยังนายจ้างการสัมภาษณ์งานในแต่ละรอบ จนตอนนี้คุณคือผู้ถูกเลือกจากนี้ไปคุณต้องทำอะไรบ้าง ตรวจสุขภาพ บางบริษัทอาจส่งคุณไปตรวจร่างกาย ว่าคุณมีสุขภาพดีสามารถทำงานให้เขาได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ได้ทำงานแน่นอน หาผู้ค้ำประกัน หากเป็นงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ อาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งบางแห่งไม่อนุญาตให้ญาติเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้สมัครงานจึงต้องหาผู้ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับนับถือมาเป็นผู้ค้ำประกันให้ ทำสัญญาว่าจ้าง โดยทั่ว ๆ ไปเป็นสัญญามาตรฐานว่ามีการตกลงว่าจ้างงานกัน รวมถึงเรื่องอัตราค่าจ้าง ผลตอบแทนต่าง ๆ และข้อบังคับของบริษัท ทดลองงาน แม้คุณจะได้เข้าทำงานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้เป็นพนักงานเต็มตัว ต้องผ่านการทดลองงานเสียก่อน โดยปกติแล้วใช้เวลา 3-6 เดือน จึงจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ
3647 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์