พนักงานได้รางวัลจากบริษัทต้องเสียภาษีหรือไม่

พนักงานได้รางวัลจากบริษัทต้องเสียภาษีหรือไม่



ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทยนั้นนับวันยิ่งมีความดุเดือดมากขึ้น หากองค์กรหยุดนิ่งหรือไม่พัฒนาเท่าที่ควร ก็อาจส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรได้ ดังนั้น ผู้บริหารในแต่ละองค์กรจึงต้องวางแผนสร้างหนทางให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดและพัฒนาเหนือคู่แข่งให้ได้ และปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและการพัฒนาขององค์กรก็คือ การมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาทำงานในองค์กร และเมื่อได้บุคลากรดังกล่าวมาแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อดึงดูดให้บุคลากรเกิดความรู้สึกรักและอยากทำงานให้กับองค์กรไปนานๆ ซึ่งแน่นอนว่าการมีสวัสดิการที่ดีและเหมาะสมเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นแรงดึงดูดให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการอื่นๆ เช่นมีรางวัลพิเศษจากการจัดแข่งขันกีฬาภายในบริษัท ซึ่งผู้เขียนขอหยิบยกประเด็นทางภาษีอากรของเงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันกีฬาภายในบริษัท

หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่า หากมีรางวัลตอบแทนแก่ผู้ชนะการแข่งขัน เงินรางวัลที่พนักงานได้รับดังกล่าว จะถือว่าเป็นเงินได้  ที่พนักงานต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ และในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินบริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายได้อย่างไร ผู้เขียนมีเกร็ดความรู้ที่นำมาแบ่งปันดังนี้ค่ะ

กรณีที่พนักงานได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันกีฬาที่บริษัทจัดขึ้น ถือเป็นประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการจ้างแรงงาน อันเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ซึ่งบริษัทเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ทั้งนี้ ควรจะมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับของบริษัท เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและเงินรางวัลเพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงานเป็นการทั่วไป ไม่เลือกปฏิบัติ คือ พนักงานทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันชิงรางวัล ต่อมาเมื่อพนักงานได้รับเงินรางวัล จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และบริษัทในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าว ย่อมมีหน้าที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่บริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่า


กรณีพนักงานได้รับรางวัล เสียภาษีต่างกับ กรณีประกวดแข่งขันชิงรางวัลหรือไม่

ขอเรียนว่า เงินรางวัลที่ได้จากการแข่งขันชิงรางวัล เช่น รางวัลจากการแข่งขันเกมส์โชว์ ในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการประกวดแข่งขัน  เป็นเงินได้คนละประเภทกันกับเงินรางวัลของพนักงานที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เหมือนกัน และเงื่อนไขในการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง  เงินรางวัลที่ได้จากการแข่งขันเกมส์โชว์ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5  ส่วนเงินรางวัลที่พนักงานได้รับจากบริษัท จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีแบบก้าวหน้า นอกจากนี้พนักงานยังมีหน้าที่ต้องนำเงินได้จากรางวัลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง และสามารถนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้มาเป็นเครดิตภาษีได้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า การแยกประเภทของเงินได้ให้ถูกต้องนับเป็นสิ่งสำคัญและต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณา ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในทางภาษีอากร ซึ่งหากมีการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีผิดประเภท อาจส่งผลให้บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายต้องร่วมรับผิดกับพนักงานในจำนวนภาษีที่ขาดไป และอาจจะต้องรับผิดในการเสียเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม จากเหตุดังกล่าวด้วย ดังนั้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินได้หรือผู้มีเงินได้ ก็ควรทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายภาษีอากร เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาและป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการคำนวณภาษีในภายหลัง


ที่มา : www.dlo.co.th

 3711
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

โลกธุรกิจหนีไม่พ้น "ความเสี่ยง" ไม่มากก็น้อย ยิ่งยุคปัจจุบันยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก เพราะการแข่งขันเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ธุรกิจไร้พรมแดน ความสำเร็จแต่ละชิ้นนับวันแต่จะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ก็ต้องพยายามฟันฝ่าอุปสรรคของความลำบากนั้นไปบรรลุจุดหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
1593 ผู้เข้าชม
Assessment Center หรือที่เรียกกันว่า ศูนย์การประเมินผล เป็นเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการประเมินศักยภาพและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่สายงานในระดับบริหาร ด้วยวิธีการประเมิน การวัดและวิเคราะห์ผลในเรื่องทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของบุคลากรในองค์กร โดยจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์หาพฤติกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น วิสัยทัศน์ การวางแผนงาน การแก้ไขปัญหาตัดสินใจ ความคิดเชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เพื่อที่จะคัดสรรผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตรงกับความต้องการในแต่ละตำแหน่งงานอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับทิศทางขององค์กรนั้นๆ ยิ่งในบางตำแหน่งงานซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับองค์กร อาทิเช่น CEO หรือในระดับ Top management องค์กรต้องมีวิธีการสรรหาและคัดสรรที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะนำพาองค์กรให้พัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2775 ผู้เข้าชม
1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1322 ผู้เข้าชม
การทำประเมินผลสวัสดิการนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี และเพื่อหลากหลายวัตถุประสงค์ เราสามารถทำการประเมินผลโดยวิธีทำแบบสอบถาม ทำการสำรวจออนไลน์ ไปจนถึงการสัมภาษณ์ ซึ่งแต่ละกระบวนการมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เราอาจมาลองดูกันว่าการประเมินผลสวัสดิการนั้นสามารถที่จะทำเพื่อวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง
3056 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์