ผ่าทางตัน Career Path แบบเก่า
พนักงานต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ผู้บริหารต้องการรักษาคนเก่งให้อยู่และเติบโตไปพร้อมๆกับองค์กร ฝ่ายบริหารบุคลากรก็พยายามออกแบบระบบความก้าวหน้าในอาชีพรองรับการเติบโตอย่างเป็นระบบ แต่กลับพบว่าในหลายองค์กรมีแต่ระบบ แต่ไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงทั้งของผู้บริหารและบุคลากร เพราะมีระบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพก็จริง แต่คนโตไม่ได้เพราะองค์กรไม่โต เพราะคนเก่ายังคงเกาะเก้าอี้กันอย่างเหนียวแน่น เพราะลำดับชั้นในองค์กรสั้นลง(มีระดับให้วิ่งน้อยลง) สุดท้ายกลายเป็นว่าระบบความก้าวหน้าในอาชีพมีไว้ให้ดูดี แต่ไม่ได้ใช้งานเพราะข้อจำกัดหลายๆประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ถ้าจะเปรียบ เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ(Career Path) เหมือนกับบันไดที่มีไว้ให้เราปีนเก็บมะม่วงที่บ้าน ต่อให้บันไดแข็งแรงและราคาแพงเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าเราไม่รู้จะเอาบันไดไปทำอะไร เพราะมะม่วงก็ไม่มีดอกออกผลให้เก็บ เพราะต้นมะม่วงเตี้ยเกินไป ไม่จำเป็นต้องใช้บันไดก็เก็บถึง เพราะเราไม่มีโอกาสได้เก็บมะม่วงเลย เนื่องจากพ่อแม่เราเป็นคนเก็บก่อนเราเสมอ สุดท้ายก็มีบันไดไว้ดูเล่นหรือไว้คุยโม้ให้เพื่อนๆข้างบ้านฟังว่าบ้านเรามีบันไดอย่างดีเท่านั้น
วันก่อนมีโอกาสได้ให้คำปรึกษากรรมการผู้จัดการบริษัทหนึ่ง ท่านถามผมว่าที่บริษัทมีตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการเกือบทุกหน่วยงาน ถ้าแนวโน้มของบริษัทอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้าไม่มีการขยายงานหรือเติบโตมากนัก แต่บริษัทต้องการรักษาบุคลากรที่เก่งๆไว้ จะมีวิธีการรักษาคนไว้อย่างไรถ้าบริษัทไม่มีตำแหน่งรองรับความก้าวหน้าของบุคลากร โดยเฉพาะตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ คำถามแรกที่ผมถามผู้บริหารท่านนี้คือ จำเป็นหรือไม่ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องมีตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ เพราะบางองค์กรมีไว้ให้ดูดี รองรับการเติบโตของคน แต่ในความจำเป็นของงานจริงๆแล้วไม่ต้องมีก็ได้ เมื่อมีตำแหน่งทุกหน่วยงานก็จะพยายามหาคนมาเติมเต็มช่องว่างของตำแหน่ง
เพื่อเป็นทางเลือกและทางออกสำหรับองค์กรที่ประสบปัญหาเช่นนี้ ผมขอเสนอแนะ แนวทางในการสร้างความก้าวหน้าในอาชีพให้กับบุคลากรภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ดังนี้
สรุป การแก้ปัญหาจุดอุดตันของระบบความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสามารถทำได้หลายแนวทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงชีวิตและลักษณะของแต่ละองค์กรว่าแต่ละช่วงเวลาควรจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของระบบความก้าวหน้าในอาชีพเป็นแบบไหน และที่สำคัญต้องวิเคราะห์ผลดีผลเสียของกลยุทธ์ที่นำมาใช้ก่อนเสมอ เพราะกลยุทธ์หนึ่งอาจจะได้ผลกับองค์กรหนึ่ง แต่อาจจะไม่ได้ผลกับอีกองค์กรหนึ่งก็ได้ ข้อเสนอแนะทั้งหมดที่ผมนำเสนอมาเป็นเพียงตัวอย่างแนวคิดที่พอจะเป็นแนวทางให้กับท่านผู้อ่านนำไปต่อยอดทางความคิดเพิ่มเติมเท่านั้น คงไม่ใช่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับทุกองค์กรนะครับ สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณกรรมการผู้จัดการของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ได้กระตุ้นให้ผมสร้างแนวคิดในเรื่องนี้จากคำถามในวันนั้นจนสามารถนำแนวคิดนี้มาเผยแพร่ให้กับท่านผู้อ่านได้
ที่มา : http://www.peoplevalue.co.th/